รฟม.เดินหน้าโมโนเรลเล็งเดินรถสายสีชมพูและเหลืองเอง ใช้เงิน 4.8 หมื่นล้าน พร้อมเสนอรัฐบาลกำหนดมาตรฐานของไทย หวังลดต้นทุนซื้อขบวนรถ ยันประกวดราคากลางปีཱུ เปิดบริการปลายปีཹ รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 4 หมื่นคนต่อชั่วโมง มั่นใจคนไม่ต้าน
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวภายหลังงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 งานศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ว่า รฟม.มีแผนจะเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) เอง เนื่องจากประเทศไทยยังไม่เคยมีใครให้บริการเดินรถดังกล่าว ทั้งนี้ จะเสนอรัฐบาลพิจารณากำหนดมาตรฐานรถไฟฟ้าโมโนเรลที่เป็นของประเทศไทย เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลที่จะก่อสร้างขึ้นในอนาคตเป็นมาตรฐานเดียวกันและยังจะสามารถจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าครั้งละจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนได้ด้วย เพราะหากพิจารณาขบวนรถที่จะนำมาให้บริการทั้ง 2 สายดังกล่าว จะต้องใช้ตู้รถไฟฟ้ารวมกันถึง 291 ตู้
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะดำเนินการได้เร็วเพราะอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... จึงช่วยประหยัดเวลาเตรียมจัดหาแหล่งเงินกู้นำมาดำเนินโครงการ หรือหาก พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ก็เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินโครงการแน่นอน ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดการดำเนินโครงการจะศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้และประมาณกลางปี 2557 จะเปิดประกวดราคาได้ จากนั้นจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี หรือประมาณปลายปี 2561 จึงสามารถเปิดให้บริการได้รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000-40,000 คนต่อชั่วโมง ใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีระยะทาง 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี คิดเป็นวงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธาประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ค่าระบบและขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท ค่าเวนคืนประมาณ 9 พันล้านบาท โครงสร้างอยู่บนเกาะกลางถนนไปตามถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาลงใต้เข้าถนนศรีนครินทร์เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ที่แยกลำสาลีผ่านทางแยกต่างระดับพระราม 9 ไปตามแนวถนนศรีนครินทร์จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวไปทางทิศตะวันตกตามถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย
"เดิมประชาชนคัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับบนเกาะกลางถนนลาดพร้าว รฟม.จึงได้ปรับแบบก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแทนรถไฟฟ้าขนาดหนัก มีข้อดีที่โครงสร้างโปร่ง วงเลี้ยวแคบ ค่าก่อสร้างต่ำ และเวนคืนน้อยกว่า เชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนแน่นอน" นายยงสิทธิ์กล่าว
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม หน้า 18 (กรอบบ่าย)
50 เขตในกทม.น้ำไม่ท่วม
1 มีทั้งหมด 1 บทความ
-
50 เขตในกรุงเทพรอดจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554
»
0
33,124
50 เขตในกรุงเทพรอดจากภาวะน้ำท่วมใหญ๋ ปี2554
วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 ที่เพิ่งคลี่คลายกลายเป็นความทรงจำที่ติดตาตรึงใจ จนยากจะลบเลือนจากคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะคนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มหาอุทกภัยครั้งนี้หนักหน่วงกว่าทุกครั้งในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่าน
1 มีทั้งหมด 1 บทความ
|